Powered By Blogger

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

เกรท แบริเออร์ รีฟ (แนวปะการังใหญ่)


เกรท แบริเออร์ รีฟ (แนวปะการังใหญ่)
สถานที่ตั้ง แหลมเคปยอร์ค รัฐควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลียปัจจุบัน สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ เป็น "สิ่งก่อสร้างที่มีชีวิต" ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเลที่สดใส รวมทั้งปะการังชนิดอ่อน และชนิดแข็ง สีสวยกว่า 350 ชนิด ตลอดจนปลา และสิ่งมีชีวิตในทะเลที่น่าพิศวงต่าง ๆ อีก 1500 ชนิด แนวปะการังนี้เริ่มตั้งแต่แหลมเคปยอร์ค (Cape York) ซึ่งอยู่ไกลขึ้นไปทางเหนือของรัฐควีนแลนด์ ลงมาถึงบันดะเบอร์ก (Bundaberk) ทางตอนใต้ แนวปะการังอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ อยู่ในความดูแลขององค์การสวนทางทะเล เกรท แบริเออร์ รีฟ (The Great Barrier Reef Marine Park Authority) และครอบคลุมดูแลพื้นที่ 215,000 ตารางไมล์ หรือ 345,000 ตารางกิโลเมตร ของน่านน้ำรอบ ๆ แนวปะการัง เป็นสวนทางทะเลที่ใหญ่ทีสุดในโลก ที่ได้รับการดูแลและปกป้องอย่างดี

แนวปะการังซึ่งดูเหมือนกับป่าใต้น้ำนี้ เจริญเติบโตในเขตทะเลร้อน กระแสน้ำอุ่น และเป็นที่อยู่อาศัยอย่างหนาแน่นของชีวิตสัตว์ทะเลที่ต่าง ๆ กันได้แก่ ฟองน้ำ 10,000 ชนิด ปะการัง 350 ชนิด หอย 4,000 ชนิด ปลาดาวและซี เออร์ชิน (Sea Urchin)ซึ่งเป็นสัตว์ประเภทคล้ายหอย 350 ชนิด และปลามากกว่า 1,500 ชนิด นักดำน้ำประมาณว่าจะต้องดำน้ำถึงพันครั้ง จึงจะได้เห็นจุดเด่นของปะการังแห่งนี้ทั้งหมด สำหรับนักเดินทางที่ไม่ถนัดเรื่องกีฬาดำน้ำ ก็ไม่ต้องตระหนกตกใจจนไม่กล้าไปเยือน เพราะเขามีวิถีทางชื่นชมความงามของสวนใต้น้ำต่าง ๆ กันไป เช่น มีเรือท้องกระจก หรือเรือกึ่งเรือดำน้ำ โดยไม่ต้องกระโดดลงไปในทะเลตัวเปียกปอนเปล่า ๆ หรือถ้าไม่เชี่ยวชาญการดำน้ำแบบใช้ท่อออกซิเจน แค่ดำน้ำใช้ท่อหายใจทางปากอย่างที่หลายคน โดยเฉพาะเด็ก ๆ ใช้กัน คุณก็จะมีโอกาสได้เพลิดเพลินกับความประหลาดมหัศจรรย์ของแนวปะการัง.

บริเวณพื้นที่แนวปะการังและเกาะควีนแลนด์ ซึ่งมีพื้นที่กว้างไกลกว่า 1,562 ไมล์ หรือ 2,500 ก.ม. มีแนวปะการังมากกว่า 2,900 แนว รวมทั้งมีเกาะขนาดต่าง ๆ กันและเกาะที่เกิดจากการรวมตัวของแนวปะการังอีกหลายร้อยเกาะ แนวปะการังใหญ่นี้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ แนวปะการังเหนือ (Northern Reef) หมู่เกาะวิทซันเดย์ (Whitsunday Islan แนวปะการังใต้ (Southern Reef) ด้วยความเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติขนาดมหึมา จึงได้รับการพิจารณาจากองค์การ UNESCO ให้อนุรักษ์เป็นมรดกโลก (World Heritage List) และอาจเป็นเพราะความสัมพันธ์ทางระบบนิเวศซึ่งมรดกโลกมหึมานี้ยังเป็นที่อยู่ให้กับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกทั้งปลา หอย งู ปลาวาฬ เต่า รวมแล้วมากกว่า 6,000 ชนิด นอกจากนี้ยังพบว่าเป็นบริเวณที่มีพยูนอาศัยมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น